วันที่ 4 ม.ค. 65 นำเสนอผลการดำเนินงานศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ รอบ12 เดิอน และหลังจากจบการประเมินผลการดำเนินงานรอบ12 เดือน ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจได้ประชุมสรุปผลการประเมินจากคณะกรรมการประเมินและวางแผนการทำงานของศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจต่อไป

หลักการและเหตุผล

หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator : UBI) เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ดำเนินงานภายใต้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน จากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว) เพื่อทำหน้าที่ในการสร้างและพัฒนานิสิต นักศึกษาและบุคลากร รวมทั้งประชาชนในท้องถิ่นให้เป็นผู้ประกอบการรายใหม่ที่ประกอบธุรกิจด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีงานวิจัย นวัตกรรม องค์ความรู้ หรือเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษารองรับ นอกจากเรื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้ว หน่วยบ่มเพาะฯยังให้ความรู้ในเรื่องการตลาด การจัดทำบัญชี การบริหารจัดการธุรกิจ การจัดทำ Business Model ของธุรกิจ โดยส่งเสริมสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาทั้งในสังกัดและกำกับ นำองค์ความรู้ ผลงานวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยี ช่วยพัฒนาท้องถิ่น เพื่อสร้างความเจริญ และสร้างศักยภาพในการประกอบอาชีพ และยกระดับฐานะทางสังคมให้กับประชาชนในท้องถิ่น ที่เป็นที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาและใกล้เคียง รวมทั้งเพื่อเป็นการตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน ในการพัฒนาผู้ประกอบการในประเทศให้มีศักยภาพในการประกอบธุรกิจ

ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (UBI มร.ภ.สุรินทร์) มีภารกิจหลักในการบ่มเพาะ สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการ อาจารย์ นักศึกษาและประชาชนทั่วไปให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างยั่งยืนภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำหรับข้อกำหนดโครงการบ่มเพาะประจำปี 2564 (TOR2564) ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ได้ส่งผู้ประกอบการเข้ารับการพิจารณากลั่นกรองและผ่านการคัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิของสป.อว. ให้ดำเนินการบ่มเพาะและพัฒนาผู้ประกอบการโดยมีเป้าประสงค์เพื่อบ่มเพาะธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้นกิจการ จนสามารถนำพาวิสาหกิจไปสู่ระดับมาตรฐานสากล โดยใช้แนวทางที่หลากหลายตามความเหมาะสม เช่น การฝึกอบรม การให้คำปรึกษาแนะนำ การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การถ่ายทอดเทคโนโลยี ทั้งนี้ ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจฯ จึงได้จัดโครงการ “การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน UBI รอบ 12 เดือน และการกลั่นกรองผู้ประกอบการเพื่อเข้าร่วมข้อเสนอโครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (ครั้งที่ 3) ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒2564”

วัตถุประสงค์

1. สร้างแรงบันดาลใจ ความตระหนัก และส่งเสริมจิตวิญญาณผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Spirit)ให้แก่นักเรียน นิสิต/นักศึกษา ศิษย์เก่า และบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรม การฝึกอบรม และการแลกเปลี่ยนความรู้ ด้านบ่มเพาะธุรกิจในสถาบันอุดมศึกษา และพัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพโดยเน้นผลิตภัณฑ์ที่มาจากผลงานวิจัย/ เทคโนโลยี/ องค์ความรู้

2. ส่งเสริมให้ นิสิต นักศึกษา คณาจารย์และนักวิจัยของสถาบันอุดมศึกษา ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนา เทคโนโลยีทางด้านอุตสาหกรรม และสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิเอกชนเสริมสร้าง

3. เสริมสร้างกลไก (Mechanism) ระบบการนำผลงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี และทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) จากองค์ความรู้ทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษามาเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจเอกชน เพื่อพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และสร้างผู้ประกอบการใหม่