โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” ครั้งที่ 3
: นวัตกรรม ซอฟต์พาวเวอร์ และการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
The 3rd National and International Conference on
Sustainable Local Development (3rd NICSLD) : Innovation, Soft Power and Educational Management for Sustainable Development
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568
ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
1. หลักการและเหตุผล
ตามที่รัฐบาลมีนโยบายให้มหาวิทยาลัยราชภัฏให้ความสำคัญกับการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นและเป็นพลังของแผ่นดิน ประกอบกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสุรินทร์ในการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน การบริหารจัดการและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน โดยมีเป้าประสงค์รวมเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ได้กำหนดวิสัยทัศน์ที่มุ่งให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็นเลิศ โดยกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน โดยมีพันธกิจหลัก คือ ผลิตบัณฑิต วิจัย สร้างความรู้และนวัตกรรมให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล ให้บริการทางวิชาการ ถ่ายทอดเทคโนโลยี น้อมนำแนวพระราชดำริ และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม สร้างเครือข่ายและความร่วมมือกับภาคประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น และผู้ประกอบการในการจัดการศึกษา บริหารจัดการมหาวิทยาลัยให้มีความคล่องตัว ยืดหยุ่น โปร่งใส ด้วยหลักธรร-มาภิบาล สู่การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาก้าวหน้า อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์หลัก คือ การพัฒนาท้องถิ่น การผลิตและพัฒนาครู การยกระดับคุณภาพการศึกษา และการพัฒนาระบบบริหารจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีปรัชญา คือ เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นสู่สากล โดยยึดหลักธรรมาภิบาล และผลงานเป็นที่ยอมรับ ยกระดับการพัฒนาของท้องถิ่นสู่สากล นำไปสู่การกำหนดพันธกิจคือ ผลิตบัณฑิตให้เป็นที่ยอมรับของชุมชน ท้องถิ่นและผู้ประกอบการ สร้างผลงานวิจัยให้เป็นที่ยอมรับภายในและตอบสนองความต้องการของชุมชนและท้องถิ่นให้บริการวิชาการแก่ชุมชนที่เน้นการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิต อนุรักษ์และส่งเสริมทำนุบำรุงและศิลปวัฒนธรรมประสานงานระดับท้องถิ่นสู่สากล ผลิตและพัฒนาครู ให้มีคุณภาพสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศให้เป็นที่ยอมรับในระดับมาตรฐานสากลที่มุ่งการพัฒนาชุมชนและสังคมให้เข้มแข็ง การเป็นสถาบันการศึกษาที่เน้นการบริหารจัดการที่มีคุณภาพใช้เทคโนโลยี และบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาล ดังนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ซึ่งเป็นส่วนงานที่สนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ตลอดถึงผู้สนใจโดยทั่วไป จึงเห็นความสำคัญที่จะโครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” ครั้งที่ 3 หรือ The 3rd National and International Conference on Sustainable Local Development (3rd NICSLD) ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์ด้านวิชาการ และเผยแพร่ผลงานวิจัยอันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศสืบไป
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อเป็นเวทีให้คณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และบุคลากรในมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการวิจัยของไทย อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
2.2 เพื่อเผยแพร่งานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมของคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เครือข่ายในประเทศและต่างประเทศ
2.3 เพื่อส่งเสริมศักยภาพด้านการวิจัย งานสร้างสรรค์ และนวัตกรรมของคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เครือข่ายในประเทศและต่างประเทศ
2.4 เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และนวัตกรรมให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์สู่การพัฒนาท้องถิ่น สังคม ประเทศชาติได้
2.5 เพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในประเทศและต่างประเทศ
2.6 เพื่อเชิดชูและยกย่องนักวิชาการ/นักวิจัยที่มีผลงานดีเด่นในด้านต่าง ๆ
3. วันเวลาและสถานที่ดำเนินการ
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 ในรูปแบบออนไซต์และถ่ายทอดสดผ่านระบบออนไลน์ (โปรแกรม Zoom) โดยมีศูนย์ประสานงานและอำนวยการโครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” ครั้งที่ 3 หรือ The 3rd National and International Conference on Sustainable Local Development (3rd NICSLD) ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
4. รูปแบบการจัดการประชุม
- การปาฐกถาพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิระดับชาติด้วยรูปแบบออนไซต์และถ่ายทอดสดผ่านระบบออนไลน์ (โปรแกรม Zoom) โดย
- การเสวนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งระดับชาติและนานาชาติด้วยรูปแบบออนไซต์ เป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้ด้าน “การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” ให้กับคณาจารย์ นักศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย และบุคคลทั่วไป ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
- รูปแบบการนำเสนอบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ ด้วยรูปแบบออนไซต์
3.1 การนำเสนอบทความวิจัยหรือบทความวิชาการแบบบรรยาย (Oral Presentation)
3.2 การนำเสนอบทความวิจัยหรือบทความวิชาการแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation)
บทความวิจัยหรือบทความวิชาการ คลอบคลุม 5 ด้าน ดังนี้
-
- ศึกษาศาสตร์ (Education)
- มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Humanities and Social Sciences)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology)
- บริหารธุรกิจ การบริการ และการท่องเที่ยว (Business Administration service and tourism)
- การวิจัยเชิงพื้นที่และอื่นๆ (Area-based Research and others)
3.3 การจัดนิทรรศการจะเป็นแบบออนไซต์ โดยหน่วยงานราชการ เอกชน ทั้งระดับชาติและนานาชาติ ในประเด็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ “การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน
- การดำเนินการเกี่ยวกับบทความ
1) เปิดรับสมัครผู้สนใจส่งบทความ (Full Paper) ทางระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์ https://research.srru.ac.th/nicsld
2) คัดเลือกบทความโดยกองบรรณาธิการ
3) ประเมินคุณภาพบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เชี่ยวชาญ
4) แจ้งผลการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ
5) นักวิจัยส่งบทความ (Full Paper) ฉบับแก้ไข
6) ตอบรับการนำเสนอบทความ (Acceptance Letter)
7) นำเสนอบทความผ่านการประชุมออนไลน์ (Microsoft Team)
- รายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings)
บทความที่ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอในที่ประชุมวิชาการจะได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความ (Peer Review) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน โดยบทความผู้นิพนธ์ภายนอกจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกคนละ 1 ท่าน ส่วนบทความผู้นิพนธ์ภายในได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่ มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) โดยจัดทำ Online Proceedings บนเว็บไซต์ https://research.srru.ac.th/nicsld
5. การดำเนินการเกี่ยวกับบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ
กิจกรรม วัน/เดือน/ปี
5.1 เปิดรับสมัครผู้สนใจส่งบทความ (Full Paper)
ทางระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์ https://research.srru.ac.th/nicsld วันนี้จนถึงวันที่ 5 มกราคม 2568
5.2 คัดเลือกบทความโดยกองบรรณาธิการ ภายในวันที่ 5 มกราคม 2568
5.3 ประเมินคุณภาพบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เชี่ยวชาญ ภายในวันที่ 10 มกราคม 2568
5.4 นักวิจัยส่งบทความ (Full Paper) ฉบับแก้ไข ภายในวันที่ 15 มกราคม 2567
5.5 ตอบรับการนำเสนอบทความ (Acceptance Letter) ภายในวันที่ 20 มกราคม 2567
5.6 นำเสนอบทความผ่านการประชุมในรูปแบบออนไซต์ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567
5.7 จัดทำ Proceeding online (ฉบับสมบูรณ์) พร้อมออนไลน์บนเว็บไซต์ https://research.srru.ac.th/nicsld ภายในเดือนมีนาคม 2567
6. ผลผลิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
- คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ รวมทั้งนักวิจัยจากสถาบัน/องค์กร มีผลงานวิจัยและวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตีพิมพ์ในรายงาน สืบเนื่องจากการประชุมและวารสารวิชาการ ไม่น้อยกว่า 100 บทความ
- เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้ของคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา นักวิชาการ และนักวิจัยจากสถาบัน องค์กรและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จากการนำเสนอผลงาน นำไปสู่การ พัฒนาท้องถิ่นและประเทศได้
- เกิดการเชื่อมโยงการวิจัยและงานวิชาการที่มีศักยภาพนำไปสู่กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้ประโยชน์ทั้งเชิงวิชาการ เชิงนโยบาย เชิงสังคมและชุมชน
- เกิดการสร้างเครือข่ายทางวิชาการระหว่างคณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ นักวิชาการและนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
7. การสมัครเข้าร่วมโครงการ ค่าลงทะเบียนและการชำระเงิน
- การสมัครเข้าร่วมโครงการ
ผู้สนใจเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย สามารถสมัครได้ที่ https://research.srru.ac.th/nicsld ตามกำหนดการสำคัญ
- อัตราค่าลงทะเบียน
2.1 การประชุมนานาชาติ (International Conference)
บทความภาษาอังกฤษ 2,500 บาท ต่อ 1 ผลงาน
2.2 การประชุมระดับชาติ (National Conference)
บทความภาษาไทย 2,500 บาท ต่อ 1 ผลงาน
2.3 การนำเสนอโปสเตอร์ (Poster Presentation)
1,500 บาท ต่อ 1 ผลงาน
2.4 อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ผลงานละ 1,000 บาท
3. วิธีการชำระเงิน
3.1 ผู้เข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงาน เมื่อสมัครเข้ามาในระบบแล้ว ท่านสามารถปริ้นท์ใบสำคัญรับเงินเพื่อชำระค่าสมัคร โดยโอนเงินผ่านธนาคารกรุงเทพ สาขามหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ ประเภทบัญชีสะสมทรัพย์ ชื่อบัญชี “มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ (บกศ2)” สาขามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ธนาคารกรุงเทพ บัญชีเลขที่ 644-030330-0
3.2 หลังจากโอนเงินเรียบร้อยแล้วโปรดกรอกแบบฟอร์มรายละเอียดในการออกใบเสร็จให้ชัดเจนพร้อมส่งหลักฐานการชำระเงินได้ที่ เว็บไซต์ https://research.srru.ac.th/nicsld
3.3 เงื่อนไขการยกเลิก ผู้ลงทะเบียนและชำระเงินเรียบร้อยแล้วทางผู้จัดขอสงวนสิทธิ์ในการไม่คืนเงินค่าลงทะเบียน
3.4 ผู้เข้าร่วมประชุมมีสิทธิ์เบิกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากหน่วยงานต้นสังกัดได้เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว ตามระเบียบว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม จัดงาน และประชุมของทางราชการ
8. การเตรียมต้นฉบับบทความวิจัย
ดูรายละเอียดต้นฉบับบทความวิชาการหรือบทความวิจัยได้ที่ เว็บไซต์ https://research.srru.ac.th/nicsld โดยผู้นำเสนอผลงานจะต้องเตรียมต้นฉบับบทความตามรูปแบบที่กำหนดให้โดยเคร่งครัด
9. การพิจารณาผลงาน
กองบรรณาธิการในโครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” ครั้งที่ 3 หรือ The 3rd National and International Conference on Sustainable Local Development (3rd NICSLD) ขอสวนสิทธิ์ในการพิจารณาและดำเนินการดังนี้
- พิจารณาเลือกกลุ่มนำเสนอผลงาน
- พิจารณาคัดเลือกผลงานที่นำเสนอในที่ประชุมและตีพิมพ์ในวารสารวิชาการหรือ Proceeding
- พิจารณาตัดสิทธิ์การนำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการดังนี้
- บทความวิจัย บทความวิชาการ ที่ไม่ถูกต้องตามแบบฟอร์มกำหนดรวมทั้งไม่ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ
- การลงทะเบียนและการชำระเงินค่าลงทะเบียนล่าช้า และ/หรือไม่ครบถ้วน
- การพิจารณาผลงานโดยกองบรรณาธิการ ถือเป็นที่สิ้นสุด
10. การติดตามข้อมูลข่าวสาร
สามารถติดตามข่าวสารได้ที่ เว็บไซต์ https://research.srru.ac.th/nicsld และ Facebook : สถาบันวิจัยและพัฒนา ม.ราชภัฏสุรินทร์ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โทรศัพท์ 084 038 2882, 089 426 4415, 081 146 6144 เว็บไซต์ https://research.srru.ac.th
11. ผลผลิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
- มีผู้นำเสนอผลงานและผู้เข้าร่วมงานจากคณาจารย์ นักวิจัย บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำนวน 200 คน และจากนักวิชาการ นักวิจัย และผู้สนใจทั่วไป จากสถาบัน องค์กร มหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 100 คน
- คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ รวมทั้งนักวิชาการ นักวิจัย และผู้สนใจทั่วไป จากสถาบัน องค์กร มหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีผลงานวิจัยและวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตีพิมพ์ในรายงาน สืบเนื่องจากการประชุมและวารสารวิชาการ ไม่น้อยกว่า 100 บทความ
- เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้ของคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา นักวิชาการ และนักวิจัยจากสถาบัน องค์กรและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จากการนำเสนอผลงาน นำไปสู่การ พัฒนาท้องถิ่นและประเทศได้
- เกิดการเชื่อมโยงการวิจัยและงานวิชาการที่มีศักยภาพนำไปสู่กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้ประโยชน์ทั้งเชิงวิชาการ เชิงนโยบาย เชิงสังคมและชุมชน
- เกิดการสร้างเครือข่ายทางวิชาการระหว่างคณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ นักวิชาการและนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ